1. อย่าเก่งอย่างโดดเดียว ตรรกะการทำงานด้าน
CSR นั้นเป็นการขับเคลื่อนด้วยความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร
ปัจจุบันการมีส่วนร่วมหรือการสร้างความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญของการพัฒนาโครงการไปสู่ความยั่งยืน
แต่บางครั้งที่เราอ่านเรื่องราว CSR ขององค์กรที่เล่าความสำเร็จในการทำกิจกรรมหรือโครงการ
CSR แบบไม่กล่าวถึงความร่วมมือกับใครเลย มุ่งเน้นแต่ชื่อองค์กรและผู้บริหารของตนเอง
ซึ่งผลลัพธ์จากการสื่อสารแบบเก่งอย่างโดดเดียวก็จะทำให้ขัดต่อตรรกะการสร้างความยั่งยืนให้กับโครงการ
CSR และพลาดโอกาสในการสร้างเครือข่ายการทำงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
2. อย่าพูดถึงแต่ประเด็นองค์กรตนเอง
เรื่องราว CSR เป็นสารที่สามารถสื่อถึงความมุ่งมั่นขององค์กรในการดำเนินกิจการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมต่อสาธารณะและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
แต่หากพูดถึงแต่ประเด็นหรือเรื่องราวที่องค์กรตนเองสนใจในการสื่อสาร CSR เท่านั้นก็ไม่ได้เข้าใจบริบทหรือความต้องการของสังคมที่จะได้รับประโยชน์จากการทำกิจกรรม
CSR หากเรื่องราว CSR สามารถพูดถึงประเด็นขององค์กรหลัก
และเชื่อมโยงบูรณาการถึงผู้รับประโยชน์หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใต้กิจกรรม เสมือนเป็นภาพจิ๊กซอว์ที่ต่อเสร็จบริบูรณ์แล้ว
3. อย่าผิดกาละเทศะ
เรื่องราว CSR
มิได้มีไว้ใช้ตอบโต้การขัดแย้งรุนแรง
หากเกิดความขัดแย้งขึ้นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ควรแก้ไขปัญหาอย่างตรงไปตรงมาตามเหตุและผล มากกว่ากล่าวอ้างเอาเรื่องราว CSR
มาเพื่อประโยชน์ในการตอบโต้ ซึ่งทำให้ลดคุณค่าของ CSR ในเชิงเครื่องมือในการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในเชิงภาคเอกชนและภาคประชาสังคม
บางครั้งการสื่อสารที่ดีที่สุดคือการปล่อยให้ผลสำเร็จในการทำกิจกรรมหรือโครงการด้าน
CSR เป็นที่ประจักษ์จากผู้ได้รับผลประโยชน์
โดยเฉพาะเมื่อเวลาที่องค์กรต้องรับมือกับสถานการณ์ล่อแหลม ข่าวลือ
4. อย่าน่าเบื่อ อย่านำเสนอ
CSR
ในรูปแบบที่ต้องปีนบันได 7 ชั้น หรือจบประกาศนียบัตริขั้นสูงใดๆ เพื่อสามารถจะเข้าใจเรื่องราวต่างๆ
ได้ หรือเรื่องราวที่นำเสนอแบบทุกข์โศกระทมเศร้า
จนไม่อยากจะลืมตามองโลกใบนี้ในเวลาต่อมา แม้ชิวิตความเป็นจริงจะต้องถูกท้าทายโดยบริบทโหดๆ
ของสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม แต่ CSR เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ทำให้ ภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา
และภาคประชาสังคม รวมใจเชื่อมโยงความสามารถของตนเองเพื่อขับเคลื่อนให้สังคมมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ดังนั้นเรื่องราว CSR จึงควรสื่อสารอย่างมีชีวิตชีวา
และมีความหวัง เข้าถึงหัวใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างมีเหตุผลบนพื้นฐานความเป็นจริง
โดยนักสื่อสารอาจนำเรื่องราวชีวิตจริงในสังคมมาเป็นตัวบอกเล่ากิจกรรมโครงการ CSR
การใช้ภาพ การใช้วีดีโอ สื่อเรื่องราวประเด็นของ CSR ให้หลากหลายเข้ากับรูปแบบความสนใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป้าหมายปลายทางสำคัญของการสื่อสาร
CSR คือการสร้างการมีส่วนร่วม และเห็นคุณค่าของการทำโครงการ CSR
ต่างๆ เพราะนั้นหมายถึงการเปิดใจ สู่ความร่วมมือ การแสดงความคิด
และนำไปสู่ความรู้สึกของการเป็นเจ้าของโครงการนั้นอย่างยั่งยืน
No comments:
Post a Comment