เงินเฟ้อ กับ ข้าวไข่เจียว ตอน 1
โดยณัฏฐนี สถิตยาธิวัฒน์
ที่ปรึกษา โปรแกรมการพัฒนาเศรษฐกิจ ธุรกิจ และผู้ประกอบการ และ
ที่ปรึกษาโครงการผู้หญิงฉลาดออม ฉลาดใช้
โดยณัฏฐนี สถิตยาธิวัฒน์
ที่ปรึกษา โปรแกรมการพัฒนาเศรษฐกิจ ธุรกิจ และผู้ประกอบการ และ
ที่ปรึกษาโครงการผู้หญิงฉลาดออม ฉลาดใช้
เงินเฟ้อ
กับ ข้าวไข่เจียว
ตอน 1
เหตุเกิดระหว่างพักถ่ายกองเพื่อทานอาหารกลางวันของละครเรื่องหนึ่ง
ญาญ่า: “ทุกวันนี้ราคาของมันเพิ่มขึ้นทุกวัน
แต่ก่อนซื้อข้าวไข่เจียวจานละแค่
10 บาท เดี๋ยวนี้ข้าวไข่เจียวแบบไม่ใส่อะไรเลยถูกสุดก็ขายจานละ
20 บาทแล้ว”
ณเดช: เฮ้อ! จริง
ค่าของเงินของเราลดลงทุกวัน
ญาญ่า: อยากรู้จริงๆ
ว่าอีก 20
- 30 ปีข้างหน้าตอนที่เราเกษียณ
ข้าวไข่เจียวจะจานละเท่าไร????
ณเดช: ถ้าอยากรู้จริงๆ
เราจะคำนวนให้ดู
ก่อนอื่นเราต้องประมาณอัตราเงินเฟ้อ
ญาญ่า: อะไร
คือ
อัตราเงินเฟ้อ
ณเดช: เงินเฟ้อ
(Inflation) คือ
ภาวะที่ทำให้เงินของเราด้อยค่าลง
เช่น
เมื่อปีที่แล้วซื้อข้าวสารถุงนี้ในราคา
100 บาท ปีนี้มีเงิน
100 บาทซื้อข้าวสารถุงนี้ไม่ได้แล้ว เพราะราคาขึ้นไปเป็น
105 บาท ซึ่งเราอาจจะพูดได้ว่า
ข้าวสารปีนี้ราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี่ที่แล้ว
5% หรือค่าของเงินของเราด้อยค่าไป 5% ซึ่งทำให้ซื้อข้าวสารได้น้อยลง เรื่องของเงินเฟ้อเป็นสิ่งที่นอกเหนือการควบคุมของเรา
บางช่วงก็ขึ้นไปเกือบ
10% บางช่วงก็ติดลบ
ลองดูอัตราเงินเฟ้อที่ผ่านมาในกราฟด้านล่างซิ
ญาญ่า: งง!!! เส้นสีน้ำตาล
คืออะไร......
แล้วเส้นสีเขียว คืออะไร
ณเดช: เส้นสีน้ำตาลแสดง
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core inflation) หรือ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core
Consumer Price Index) คือดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด(ซึ่งมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงบ่อยและเป็นลักษณะตามฤดูกาล) และสินค้ากลุ่มพลังงานออก เหลือแต่รายการสินค้าที่ราคาเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด สินค้าที่ใช้คำนวณมีจำนวน 266 รายการ จากจำนวนรายการสินค้า 373 รายการของสินค้าในตะกร้าวดัชนีราคาผู้บริโภคทั้วไป อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดเป้าหมาย วิเคราะห์และติดตามนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งสำหรับปี 2555นี้ กำหนดกรอบการเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 0.5 – 3.0 ต่อปี
ส่วนเส้นสีเขียว แสดงอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline
inflation) เป็นการ คำนวนอัตราเงินเฟ้อโดยไม่หักกลุ่มอาหารสดและพลังงานออก ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น อัตราเงินเฟ้อที่แท้จริง ในขณะที่ Core inflation
คือ อัตราเงินเฟ้อที่รัฐบาลถือว่าสามารถควบคุมได้ เพราะตัดสินค้าที่ควบคุมไม่ได้ออกไปแล้ว
ญาญ่า: หมายความว่า
ราคาข้าวไข่เจียวในอนาคต
เราก็ต้องประมาณอัตราเงินเฟ้อทั่วไปใช่มั้ย?
ณเดช: ถถถูก
ถูก
ถูก
ต้องแล้วคร๊าบบบบ......!!! วันนี้ข้าวไข่เจียวราคาจานละ
20 บาท ในอีก
30 ปีข้างหน้าจะราคากี่บาทก็ขึ้นกับค่าเงินเฟ้อทั่วไปนี่หล่ะ
ให้ลองดูตามตารางที่คำนวนราคาข้าวไข่เจียว
ณ
อัตราเงินเฟ้อต่างๆ
ไว้ให้แล้ว
อัตราเงินเฟ้อ
|
1
ปี
|
3
ปี
|
5
ปี
|
10
ปี
|
20
ปี
|
30 ปี |
3%
|
21
บาท
|
22
บาท
|
23
บาท
|
27
บาท
|
36
บาท
|
49
บาท
|
5%
|
21
บาท
|
23
บาท
|
26
บาท
|
33
บาท
|
53
บาท
|
86
บาท
|
7%
|
21
บาท
|
25
บาท
|
28
บาท
|
39
บาท
|
77
บาท
|
152
บาท
|
9%
|
22
บาท
|
26
บาท
|
31
บาท
|
47
บาท
|
112
บาท
|
265
บาท
|
ญาญ่า: โอโฮ้! แค่ข้าวไข่เจียวในอีก
30 ปีข้างหน้า สมมติประมาณอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่
3%
ก็จานละ
49 บาทแล้ว แล้วเราจะมีเงินพอหลังเกษียณสำหรับข้าวไข่เจียวมั้ยเนี้ยะ?
ณเดช: เป็นคำถามที่ดีมาก
ถ้าอยากรู้จริงๆ
เราคิดไว้ให้แล้วไว้จะเอามาให้ดูวันหลังนะ
ตอนนี้ผู้กำกับเรียกแล้ว
ไปเข้าฉากกันก่อนเถอะ
ญาญ่า: เค เค
ไว้ต่อพรุ่งนี้นะ
อยากรู้อ่ะ
ว่าเงินเก็บหลังเกษียณจะพอกินข้าวไข่เจียวอ่ะป่าว?
No comments:
Post a Comment