ปัจจุบันมีบทความการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจกับกลุ่มคน ที่ในช่วงปี พ.ศ. 2523-2540 หรือที่เราเรียกกันว่า เจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) หรือมิลเลนเนียล (Millennials) อายุราว ๆ 17-34 ปี เป็นอย่างมาก เพราะ Generation นี้กำลังกลายเป็นประชากรส่วนมาก ที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน เจ้าของกิจการ และเป็นผู้บริโภคหลัก
ในขณะที่คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer) กำลังค่อย ๆ ลดบทบาท หรือเกษียณตัวเองไปสู่บทอื่น ๆ ของชีวิต
ดังนั้น จึงมีงานศึกษาวิจัยเพื่อเข้าใจคนกลุ่มนี้ ซึ่งนับเป็น Generation แห่งการเปลี่ยนผ่านทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ทางเลือกในองค์ความรู้ และในชีวิตที่มีหลากหลาย จึงมีค่านิยมที่แตกต่างจากรุ่นเก่า ๆ ปู่ ย่า ตา ยาย เพราะบริบทสังคมเปลี่ยนไป ความไวของการเปลี่ยนแปลงผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้คนรุ่นนี้ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว
ความเข้าใจของคนรุ่นก่อน ๆ เมื่อมองคน Gen Y คือมีศักยภาพแต่ไร้ทิศทาง รู้ทุกอย่าง มาไว ไปไว แต่ไม่สามารถใช้ความอดทนก้าวไปสู่ความสำเร็จแบบเชี่ยวชาญได้ หรืออาจมีคำพูดมาล้อว่าคนสมัยนี้มีแนวคิดใหม่ว่า "ขยันในวันนี้ สบายในวันหน้า แต่ถ้าขี้เกียจในวันนี้ สบายวันนี้เลย"
อ่านแล้วอยากจะขำ แต่อยากจะคิดว่าด่วนสรุปลักษณะของคน Gen Y ไปหรือไม่
ในต่างประเทศมีการศึกษาทุก ๆ ด้านของ Gen Y ทั้งยังนำเสนอได้น่าสนใจว่า คน Gen Y ปรับตัวเก่ง สามารถเข้ากันได้กับความหลากหลายทางเชื้อชาติ และสังคม สามารถแหวกทุกแนวคิด Out of the Box
ในขณะที่คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer) กำลังค่อย ๆ ลดบทบาท หรือเกษียณตัวเองไปสู่บทอื่น ๆ ของชีวิต
ดังนั้น จึงมีงานศึกษาวิจัยเพื่อเข้าใจคนกลุ่มนี้ ซึ่งนับเป็น Generation แห่งการเปลี่ยนผ่านทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ทางเลือกในองค์ความรู้ และในชีวิตที่มีหลากหลาย จึงมีค่านิยมที่แตกต่างจากรุ่นเก่า ๆ ปู่ ย่า ตา ยาย เพราะบริบทสังคมเปลี่ยนไป ความไวของการเปลี่ยนแปลงผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้คนรุ่นนี้ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว
ความเข้าใจของคนรุ่นก่อน ๆ เมื่อมองคน Gen Y คือมีศักยภาพแต่ไร้ทิศทาง รู้ทุกอย่าง มาไว ไปไว แต่ไม่สามารถใช้ความอดทนก้าวไปสู่ความสำเร็จแบบเชี่ยวชาญได้ หรืออาจมีคำพูดมาล้อว่าคนสมัยนี้มีแนวคิดใหม่ว่า "ขยันในวันนี้ สบายในวันหน้า แต่ถ้าขี้เกียจในวันนี้ สบายวันนี้เลย"
อ่านแล้วอยากจะขำ แต่อยากจะคิดว่าด่วนสรุปลักษณะของคน Gen Y ไปหรือไม่
ในต่างประเทศมีการศึกษาทุก ๆ ด้านของ Gen Y ทั้งยังนำเสนอได้น่าสนใจว่า คน Gen Y ปรับตัวเก่ง สามารถเข้ากันได้กับความหลากหลายทางเชื้อชาติ และสังคม สามารถแหวกทุกแนวคิด Out of the Box
คนกลุ่มนี้จึงชอบอยู่ในองค์กรที่สร้างสรรค์นวัตกรรม หรือหากเลือกใช้สินค้าจะให้ค่ากับความแปลกใหม่ ทั้งในเชิงเทคโนโลยี ดีไซน์ หรือการช่วยเหลือสังคม เช่น กลุ่มเพื่อสุขภาพ กลุ่ม Green กลุ่มช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ดังที่เราจะเห็นตัวอย่างจากที่เคยเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก SMEs กลายเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมไปมากมาย
การจะให้ไปทำตามกระบวนการดั่งเดิมตามประเพณีนิยม วัดตรงทุกองศาเป๊ะ นั้นอาจไม่ตรงจริตกับคน Gen Y การค้นหาศักยภาพความเป็นตัวของตัวเอง เหมือนกับการเดินทางไปเที่ยวตามที่ต่าง ๆ (Journal) เมื่อค้นพบแล้วก็เชื่อมโยงต่อ สำเร็จเป็นขั้น ๆ สร้างกลุ่ม และความสนใจร่วมกันนั้นน่าจะเป็นวิถี Gen Y มากกว่า
การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ Gen Y นับเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งยังเป็นโอกาสสร้างศักยภาพสู่ความยั่งยืนสำหรับการทำงานด้าน CSR ด้วยแคแร็กเตอร์ของ Gen Y ที่ให้ความสำคัญกับการคิดบวก การให้ความสำคัญกับการหาจุดสมดุลในชีวิต มีใจช่วยเหลือสังคม ตระหนักเรื่องภาวะสิ่งแวดล้อม และเชี่ยวชาญการเชื่อมโยงกับคนอื่น ๆ ผ่านเครือข่ายออนไลน์ รวมถึงยังเป็นกลุ่มที่มีพลวัต และสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงองค์กรและเชิงสังคม
การทำงานผ่านกิจกรรม CSR ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์โครงการในรูปแบบที่ได้แสดงนิยามความเป็นตัวของตัวเอง ในฐานะคณะทำงาน การใช้ความรู้ความสามารถในการเป็นอาสาสมัคร การเป็นผู้พัฒนากิจกรรมเหล่านั้น การเป็นเครือข่ายของกิจกรรมในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งในระบบ Online และ Offline การกล้าคิด กล้าถาม สนใจ เชื่อมโยง สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นองค์ประกอบที่ดีสู่การบ่มเพาะความเป็นพลเมืองดีผ่านกิจกรรม CSR
เราจึงควรนำเอาพลัง Gen Y มาขับเคลื่อน CSR ทั้งภายในและภายนอกองค์กรเป็นฐานสำคัญต่อไป
โดย พีรานันท์ ปัญญาวรานนันท์
ผู้จัดการด้านการพัฒนาโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม